พลัง และ ศรัทธา พิธีอิ้วเก้ง (แห่พระ) ประเพณีถือศีลกินผัก จังหวัดภูเก็ต

งานประเพณีถือศีลกินผัก จังหวัดภูเก็ต

I am Devil ยัยตัวร้าย ได้มีโอกาสไปงานประเพณีถือศีลกินผัก เป็นครั้งแรก

ความตั้งใจอยากไปเก็บภาพ พิธีอิ้วเก้ง (แห่พระ) ค่ะ

I am Devil ยัยตัวร้าย จะแยกรีวิวงานประเพณีถือศีลกินผัก เป็น 2 รีวิว นะคะ

รีวิวตอนที่ 1 พลัง และ ศรัทธา พิธีอิ้วเก้ง (แห่พระ) ประเพณีถือศีลกินผัก จังหวัดภูเก็ต (<<<<<คลิ๊กรีวิว)

รีวิวตอนที่ 2 ประเพณีถือศีลกินผัก 2557 จังหวัดภูเก็ต (<<<<<คลิ๊กรีวิว)

 

ประวัติประเพณีถือศีลกินผัก จังหวัดภูเก็ต

          เดิมประเพณีกินผัก ที่ชาวบ้านและชาวจีนที่อยู่ในจังหวัดภูเก็ตเรียกกันว่า “เจี๊ยะฉ่าย” นั้น เป็นลัทธิเต๋า ซึ่งนับถือบูชาเซียนเทวดาเทพเจ้า วีรบุรุษ เป็นประเพณีที่คนภูเก็ตนับถือมาช้านาน วันประกอบพิธีตรงกับวันขึ้น 1 ค่ำ ถึง 9 ค่ำ เดือน 9 (เก้าโง้ยโฉ่ยอีดถึงโฉ่ยเก้า) ตามปฏิทินจีนของทุกๆ ปี

  เดิมประเพณีกินผัก ที่ชาวบ้านและชาวจีนที่อยู่ในจังหวัดภูเก็ตเรียกกันว่า “เจี๊ยะฉ่าย” นั้น เป็นลัทธิเต๋า ซึ่งนับถือบูชาเซียนเทวดาเทพเจ้า วีรบุรุษ เป็นประเพณีที่คนภูเก็ตนับถือมาช้านาน วันประกอบพิธีตรงกับวันขึ้น 1 ค่ำ ถึง 9 ค่ำ เดือน 9 (เก้าโง้ยโฉ่ยอีดถึงโฉ่ยเก้า) ตามปฏิทินจีนของทุกๆ ปี

          ประเพณีเจี๊ยะฉ่าย ได้เริ่มขึ้นเป็นครั้งแรกที่หมู่บ้าน ไล่ทู (ในทู) ซึ่งเป็นหมู่บ้านกระทู้ ตำบลกระทู้ จังหวัดภูเก็ตในปัจจุบัน คนจีนที่อยู่ในทูสมัยนั้น มีความเชื่อและความศรัทธาในเรื่องเทพเจ้าประจำตระกูล หรือเทพเจ้าที่คุ้มครองประจำหมู่บ้าน เมื่อมีเหตุเภทภัยเกิดขึ้นจึงได้เชิญเทพเจ้าแต่ละพระองค์ที่ตนนับถือบูชากราบไหว้มาคุ้มครองปกป้องรักษาตน อยู่เย็นเป็นสุขโดยทั่วกัน และความเชื่อนี้ยังคงยึดถือตราบเท่าทุกวันนี้

         ต่อมาได้มีคณะงิ้ว หรือ เปะหยี่หี่ ที่ได้เดินทางมาจากประเทศจีนมาเปิดแสดงที่บ้านในทู หลังจากคณะงิ้วได้เปิดทาการแสดงมาระยะหนึ่ง ได้เกิดมีการเจ็บป่วยเป็นไข้ และจากการเจ็บป่วยครั้งนี้ ทำให้คณะงิ้วนึกขึ้นได้ว่าพวกตนไม่ได้ประกอบพิธีเจี๊ยะฉ่าย (กินผัก) ซึ่งเคยปฏิบัติกันมาทุกปีที่เมืองจีน และปรากฏมาตั้งแต่สมัยพระเจ้าอึ่งตี่ฮ่องเต้เป็นต้นมา จึงได้ตกลงใจประกอบพิธีเจี๊ยะฉ่ายขึ้นที่โรงงิ้วเพื่อขอขมาโทษด้วยสาเหตุต่างๆ ต่อมาโรคภัยไข้เจ็บก็หายไปหมดสิ้น รวมทั้งโรคภัยไข้เจ็บที่เคยเบียดเบียดชาวในทู ก็ลดลงด้วยเช่นกัน เรื่องนี้สร้างความประหลาดใจให้แก่ชาวในทูเป็นอันมาก จึงได้สอบถามจากคณะงิ้ว และได้คาตอบว่าพวกเขาได้ประกอบพิธีเจี๊ยะฉ่ายแบบย่อๆ เนื่องจากไม่มีผู้รู้และผู้ชานาญในการจัดประกอบพิธีเจี๊ยะฉ่ายโดยเพียงแต่สักการะบูชากราบไหว้ขอขมาโทษ ระลึกถึงกิ้วฮ๋องเอี๋ยหรือ กิ้วฮ๋องไต่เต่หรือพระราชาธิราชทั้งเก้าพระองค์นั้นเอง

          หลังจากชาวจีนในทูได้ประกอบพิธีเจี๊ยะฉ่ายได้ประมาณ 2-3 ปี โรคภัยไข้เจ็บต่างๆ ได้ลดน้อยลงและหายไปในที่สุด ทาให้ชาวจีนที่มาอาศัยทาเหมืองแร่อยู่ตามดงตามป่ามีความเชื่อและศรัทธาเลื่อมใสมากยิ่งขึ้น

          ประเพณีเจี๊ยะฉ่าย ได้เริ่มขึ้นเป็นครั้งแรกที่หมู่บ้าน ไล่ทู (ในทู) ซึ่งเป็นหมู่บ้านกระทู้ ตำบลกระทู้ จังหวัดภูเก็ตในปัจจุบัน คนจีนที่อยู่ในทูสมัยนั้น มีความเชื่อและความศรัทธาในเรื่องเทพเจ้าประจำตระกูล หรือเทพเจ้าที่คุ้มครองประจำหมู่บ้าน เมื่อมีเหตุเภทภัยเกิดขึ้นจึงได้เชิญเทพเจ้าแต่ละพระองค์ที่ตนนับถือบูชากราบไหว้มาคุ้มครองปกป้องรักษาตน อยู่เย็นเป็นสุขโดยทั่วกัน และความเชื่อนี้ยังคงยึดถือตราบเท่าทุกวันนี้

         ต่อมาได้มีคณะงิ้ว หรือ เปะหยี่หี่ ที่ได้เดินทางมาจากประเทศจีนมาเปิดแสดงที่บ้านในทู หลังจากคณะงิ้วได้เปิดทาการแสดงมาระยะหนึ่ง ได้เกิดมีการเจ็บป่วยเป็นไข้ และจากการเจ็บป่วยครั้งนี้ ทำให้คณะงิ้วนึกขึ้นได้ว่าพวกตนไม่ได้ประกอบพิธีเจี๊ยะฉ่าย (กินผัก) ซึ่งเคยปฏิบัติกันมาทุกปีที่เมืองจีน และปรากฏมาตั้งแต่สมัยพระเจ้าอึ่งตี่ฮ่องเต้เป็นต้นมา จึงได้ตกลงใจประกอบพิธีเจี๊ยะฉ่ายขึ้นที่โรงงิ้วเพื่อขอขมาโทษด้วยสาเหตุต่างๆ ต่อมาโรคภัยไข้เจ็บก็หายไปหมดสิ้น รวมทั้งโรคภัยไข้เจ็บที่เคยเบียดเบียดชาวในทู ก็ลดลงด้วยเช่นกัน เรื่องนี้สร้างความประหลาดใจให้แก่ชาวในทูเป็นอันมาก จึงได้สอบถามจากคณะงิ้ว และได้คาตอบว่าพวกเขาได้ประกอบพิธีเจี๊ยะฉ่ายแบบย่อๆ เนื่องจากไม่มีผู้รู้และผู้ชานาญในการจัดประกอบพิธีเจี๊ยะฉ่ายโดยเพียงแต่สักการะบูชากราบไหว้ขอขมาโทษ ระลึกถึงกิ้วฮ๋องเอี๋ยหรือ กิ้วฮ๋องไต่เต่หรือพระราชาธิราชทั้งเก้าพระองค์นั้นเอง

          หลังจากชาวจีนในทูได้ประกอบพิธีเจี๊ยะฉ่ายได้ประมาณ 2-3 ปี โรคภัยไข้เจ็บต่างๆ ได้ลดน้อยลงและหายไปในที่สุด ทาให้ชาวจีนที่มาอาศัยทาเหมืองแร่อยู่ตามดงตามป่ามีความเชื่อและศรัทธาเลื่อมใสมากยิ่งขึ้น

 

 

วันอาทิตย์ 28 กันยายน 2557

กำหนดการ พิธีอิ้วเก้ง (แห่พระ)

เวลา 07.30 อ๊ามบ้านท่าเรือ (หลิมเย่งจ้อ หงอจิ้นหยิน)

เส้นทางตัวเมืองภูเก็ต

           I am Devil ยัยตัวร้าย เลือกที่จะชมพิธีอิ้วเก้ง (แห่พระ) ของ อ๊ามท่าเรือ (หลิมเย่งจ้อ หงอจิ้นหยิน)

          I am Devil ยัยตัวร้าย มารอที่ถนนถลางค่ะ ถนนสายนี้คึกคักไม่ว่าจะเป็นนักท่องเที่ยวชาวไทย และชาวต่างชาติ และได้มีการตั้งโตะหมู่บูชาไว้หน้าบ้าน เพื่อสักการะบูชาองค์พระ และจัดเตรียมประทัดแพจำนวนมาก ไว้จุดต้อนรับขบวนพระที่ผ่านมาด้วย

IAM_2050

IAM_2049

IAM_2052

 

ม้าทรง ร่างทรงเทพเจ้าจีน

          เชื่อกันว่าการเข้าทรงของพระจีน เป็นการแสดงอิทธิฤทธิ์ และสามารถปัดเป่าสิ่งชั่วร้าย บันดาลความสุขให้แก่ผู้เคารพเลื่อมใส

          การแสดงอิทธิฤทธิ์ของพระจีน เมื่อพระจีนเข้าทรงแล้ว บางครั้งจะคว้าอาวุธคู่มือ มีทั้งดาบจีน ง้าว ขวาน มีด เหล็กแหลม เป็นต้น ออกมาร่ายรำ ฟาดฟัน ทิ่มแทงตัวเอง เน้นการทรมานตนเอง

IAM_2070

 

          ม้าทรงจะมีทั้ง ม้าทรงชาย และม้าทรงหญิง แสดงอิทธิฤทธิ์ ด้วยการใช้ของมีคม และเหล็กแหลมต่างๆ ทิ่มแทงไปตามร่างกาย ด้วยมีความเชื่อว่าเป็นการรับเคราะห์แทนผู้ถือศีลกินผัก

IAM_2083

IAM_2068

IAM_2069

IAM_2076

IAM_2081

IAM_2086

IAM_2087

IAM_2088

IAM_2092

          พิธีอิ้วเก้ง หรือ พิธีแห่พระ เป็นการออกประพาส เพื่อโปรดสัตว์ หรือออกเยี่ยมราษฎรของพระมหากษัตริย์ 

          เกี้ยวหามพระ เรียกว่า “ไทเปี๋ย” หรือเสลี่ยงเล็ก โดยหามรูปพระบูชาต่างๆ ออกนั่งเกี้ยวตามขั้น และยศของเทพ 

IAM_2096

 

คนหามเกี้ยว เรียกว่า “ฉ่ายอิ้ว” ทำหน้าที่หามเกี้ยว

IAM_2180

IAM_2210

           การจุดประทัด จะจุดแล้วโยนไปบริเวณข้างๆ ทาง รอบเกี้ยวพระ หรือการจุดโยนขึ้นด้านบน เปรียบเสมือนการโปรยดอกไม้ เพื่อต้อนรับขบวนพระที่ได้เสด็จมายังโลกมนุษย์

IAM_2120

IAM_2146

IAM_2143

 

ความเชื่อ และความศรัทธา สามารถสัมผัสได้อย่างแท้จริง

IAM_2123

IAM_2133

ม้าทรง ของอ๊ามบ้านท่าเรือ 

IAM_2204

IAM_2249

          พระเกี้ยวใหญ่ หรือ “ตั๋วเหลี้ยม” (เสลี่ยงใหญ่) เป็นที่ประทับ “องค์กิ้วฮ่องไต่เต่” มักใช้คน 8 คนหาม

IAM_2277

IAM_2278

IAM_2270

          ประชาชนที่รอขบวนแห่ จะจัดเตรียมโต๊ะบูชาไว้ที่หน้าบ้าน หรือห้างร้าน เพื่อเสริมสิริมงคลให้แก่ตนเอง ครอบครัว และบริษัท

IAM_2257

ขบวนแห่จะมาสิ้นสุดที่แหลมสะพานหิน

          นักท่องท่องเที่ยวทั้งชาวไทย และชาวต่างชาติ ทั้งชาวภูเก็ต มารออยู่ที่สะพานหินเป็นจำนวนมาก

IAM_2261

ปิดท้ายด้วยขบวนสิงโต

IAM_2280

IAM_2282

พลัง และศรัทธา พิธีอิ้วเก้ง (แห่พระ)

เก็บภาพของอ๊ามบ้านท่าเรือ บรรดาฉ่ายอิ้วมาฝากค่ะ 

IAM_2195

IAM_2202

IAM_2262

          I am Devil ยัยตัวร้าย ได้เก็บภาพบรรยากาศ พิธีอิ้วเก้ง (แห่พระ) ของอีก 2 อ๊ามมาฝากค่ะ อาจจะไม่เยอะเท่ากับ อ๊ามบ้านท่าเรือ นะคะ

 

วันอาทิตย์ 28 กันยายน 2557

กำหนดการ พิธีอิ้วเก้ง (แห่พระ)

เวลา 09.00 อ๊ามหลิมฮู้ไท้ซู (สามกอง)

เส้นทางตัวเมืองภูเก็ต

IAM_1784

IAM_1787

IAM_1797

IAM_1801

IAM_1806

IAM_1811

IAM_1822

IAM_1832

IAM_1838

IAM_1853

 

วันเสาร์ 27 กันยายน 2557

กำหนดการ พิธีอิ้วเก้ง (แห่พระ)

เวลา 07.19 อ๊ามกวนเต้กุ้น (สะปำ)

บริเวณหมู่บ้านสะปำ

IAM_2230

IAM_2232

IAM_2228

IAM_2233

IAM_2235

IAM_2237

IAM_2238

IAM_2243

IAM_2246

IAM_2248

IAM_2249

IAM_2250

IAM_2251

IAM_2255

 

คำแนะนำ

การเตรียมตัว จะเก็บภาพบรรยากาศ ควรเช็คเวลาของแต่ละอ๊าม ว่าจะเริ่มแห่พระเวลาไหน และเส้นทางที่จะแห่พระ จะได้กะเวลาได้ค่ะ แต่ถ้าใครอยากเห็นตั้งแต่เริ่มพิธีม้าทรง ก็ไปที่อ๊ามนั้นๆ เลยค่ะ แนะนำให้ไปตั้งแต่ 6 โมงเช้าค่ะ

การแต่งตัว ควรสวมชุดสีขาว เพื่อให้เข้ากับพิธีประเพณีค่ะ

การถ่ายภาพ หาผ้าปิดจมูก หมวก หรือผ้าโพกศรีษะ ที่อุดหู เพราะจะได้ยินเสียงประทัดตลาดเส้นทางขบวนแห่  และระวังในการโยนประทัดใส่เกี้ยวพระ อาจจะโยนเลยมาโดนตัวเราได้ค่ะ เพราะ I am Devil ยัยตัวร้าย โดนประทัดไปหลายนัดเลยค่ะ

I am Devil ยัยตัวร้าย ประทับใจมากเลยค่ะ กับงานประเพณีถือศีลกินผัก จ.ภูเก็ต ปีหน้าตั้งใจจะไปเก็บภาพบรรยากาศอีกค่ะ

 

ขอบคุณทุกท่านที่เข้ามาชมรีวิวค่ะ สามารถพูดคุยกันได้ที่

Face Book : I am Devil ยัยตัวร้าย

IG : @bloggertripth

Twitter : @iamdevilth

 

ขอบคุณข้อมูลจาก

ททท.สำนักงานภูเก็ต และชมรมอ๊ามภูเก็ต

http://www.phuketbulletin.co.th/Travel/view.php?id=1268

https://www.facebook.com/Phuketandamannews.FC

Share Button
Leave a Reply